หน่วยที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม
เทคโนโลยี และสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หรือ
นวกรรม มาจากคำว่า
นว หมายถึง ใหม่
กรรม
หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น
นวกรรม หรือ นวกรรม
จึงหมายถึง การกระทำใหม่ ๆ
คำว่า “ นวัตกรรม ” หมายถึง
ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ
นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ?การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม? แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
คำว่า
นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย
คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate
แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรม ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน
จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า ?นวัตกรรมการศึกษา?
(Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ
หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร (Innovator)
ทอมัส ฮิวช์
(Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ ?นวัตกรรม? ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot
Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย ?นวัตกรรม? ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
ไชยยศ
เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย ?นวัตกรรม? ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ
ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ
ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ ?นวัตกรรม? ไว้ว่า ?แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
นวัตกรรม
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น
นวัตกรรมไว้ดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้
โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย
หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ
อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า
สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
ประเภทของนวัตกรรม
มี 2 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ก็คือนวัตกรรมที่ถูกคิดข้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ และไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน
ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาปรับปรุง แก้ไข
ให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้นและตรงกับความต้องการของสภาพงานและตัวผู้ใช้งานเองด้วย
สาเหตุการเกิดนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ
ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Web-based learning” ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
“นวัตกรรมทางการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
มี 5 ประการ ได้แก่
มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น
5 ประเภทได้แก่
- นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
- นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
- นวัตกรรมด้านหลักสูตร
- นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
- นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.
ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้
ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน
วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้
นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3.
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน
หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง
เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี
ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4.
ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ
และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก
แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ
ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ
โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว
ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ
และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น
และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ
จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์”
หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
เทคโนโลยีี
หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้
เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา
(Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) +
โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ
3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ
เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์
ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ดร.เปรื่อง
กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า
เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล
วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
Edgar
Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ
แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา
เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง
ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า
ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1.
การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน
ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ
เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา
ทำให้ระบบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
สนองในเรื่องความแตกต่างในระดับบุคลที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาได้
ทั้งยังส่งผลให้มีการจัดการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์
ทดลองใช้ เพื่อให้ได้มาซึ้งผลสรุปที่ถูกต้องและได้ผลจริง
เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา สามารถที่จะเรียนรู้และสืบค้น
ข้อมูลทางการศึกษาได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่ทำการศึกษากระตือรือร้นที่จะทำการศึกษาให้ได้มาซึ้งความรู้และความถูกต้องและแท้จริง
ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
1. สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
3. สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5. สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง
การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ
มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา
ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมคือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย
ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง และเทคโนโลยีก็คือ
เครื่องมือวัสดุต่างๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการ การจัดระบบจึงอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ดังนี้
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของสารสนเทศ
|
|
สารสนเทศ
(Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี
การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย
มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
สารสนเทศ
(Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ
ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
วิเศษศักดิ์
โคตรอาษา (2542)
ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น
การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด
เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"
ความหมายของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ
(Information
System) คือ
กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ
การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System)หมาย ถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติ การ ระดับกลาง และระดับ
สูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย
ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า การประมวลผลสารสนเทศ (
Information Processing )
และเรียกวิธีการประมวลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT )
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลภายใน หมายถึง
ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น
ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ข้อมูลงานบุคลากร
ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
ข้อมูลภายนอก หมายถึง
ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร
ข้อมูลหน่วยงานอื่น ๆ
ประเภทของสารสนเทศ
จำแนกตามแหล่งสารสนเทศ คือการจัดแบ่งตามการรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศ
ออกเป็น 3 แหล่งดังนี้
1. แหล่งปฐมภูมิ หมายถึง
สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโยตรง เป็นสารสนเทศเชิงวิชาการ มีการเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้า
วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม
มีข้อมูลเหตุผลที่เชื่อถือได้
2.
แหล่งทุติยภูมิ หมายถึง สารสนเทศที่ได้รวบรวม
เรียบเรียงขึ้นใหม่จากสารสนเทศปฐมภูมิ อาจทำในรูปของการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่
ทำดรรชนี สาระสังเขป เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เข้าใจง่าย ได้แก่
สื่ออ้างอิง วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ
รวมทั้งหนังสือตำราที่รวบรมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน รวมทั้งสารานุกรม
พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ ดรรชนีวารสารและสาระสังเขป เป็นต้น
3. แหล่งตติยภูมิ หมายถึง
สารสนเทศที่รวบรวมขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ
ไม่ให้ความรู้สาระเนื้อหารโดยตรง
แต่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้นหาเฉพาะสาขาวิชาต่างๆได้ ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม
ปัจจุบันมีการจัดทำเป็นบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ออกเผยแพร่ ในรูปของ CD-ROM
ฐานข้อมูลออนไลน์
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูล
การประมวลผล
การจัดเก็บข้อมูล
การวิเคราะห์
การนำไปใช้
คุณค่าของสารสนเทศ
สารสนเทศที่หามาได้นั้นจะมีคุณค่าต่อการใช้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย
4 ประการ คือ
1. เวลา (time) สารสนเทศที่ได้รับ ต้องทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ทันต่อความต้องการในการใช้
2. ความถูกต้อง (accuracy) สารสนเทศ ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่มีการแต่งเติม จนมีผลต่อความรู้สึก ความเข้าใจของผู้ใช้ ความชัดเจน ปราศจากความคลุมเครือ ไม่ต้องอาศัยการตีความเพิ่มเติม และสามารถพิสูจน์ได้
3. ความครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ครบถ้วน จะต้องไม่ขาดหาย และไม่ถูกบิดเบือนจากความจริง มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการในการใช้
4. ความต่อเนื่อง (continuation) มีลักษณะการสะสมของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประสานเป็นเนื้อหาเดียวกัน
1. เวลา (time) สารสนเทศที่ได้รับ ต้องทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ทันต่อความต้องการในการใช้
2. ความถูกต้อง (accuracy) สารสนเทศ ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่มีการแต่งเติม จนมีผลต่อความรู้สึก ความเข้าใจของผู้ใช้ ความชัดเจน ปราศจากความคลุมเครือ ไม่ต้องอาศัยการตีความเพิ่มเติม และสามารถพิสูจน์ได้
3. ความครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ครบถ้วน จะต้องไม่ขาดหาย และไม่ถูกบิดเบือนจากความจริง มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการในการใช้
4. ความต่อเนื่อง (continuation) มีลักษณะการสะสมของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประสานเป็นเนื้อหาเดียวกัน
ความสำคัญของสารสนเทศ
1.1 เราสามารถต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมที่เราไม่รู้จักและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
และเราสามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ
มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันทำให้มีปัจจัยในการใช้ชีวิตอันได้แก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
1.2 เราสามารถต่อสู้กับความไม่รู้ของตนเอง ในเรื่องที่จำเป็นต้องรู้
สารสนเทศ ช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เรื่องร่างกาย และจิตใจของเรา
เรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ ทำให้เราสามารถปรับตัว
และสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ร่วมกับเราได้และยารักษาโรค
1.3 เราสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ
ที่รู้จักใช้สารสนเทศในการตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างรอบคอบ
เพราะการที่เราได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา
เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.4
ทำให้เราเกิดความเจริญทางจิตใจ มีสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ได้
รู้จักสร้างสรรค์ศิลปะ ให้เกิดความสวยงาม มีความเพลิดเพลินในการศึกษา ทางศาสนา
ก่อให้เกิดความสงบ เยือกเย็น และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
2. ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม
2.1 ทำให้เราเกิดการศึกษา
ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสังคม สังคมใดที่คนในสังคมได้รับการศึกษา รู้หนังสือ
และเราสามารถเข้าถึงสารสนเทศ สังคมที่เราอยู่จะสามารถพัฒนาอย่างรวดเร็ว
2.2
รักษาไว้และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สารสนเทศจะช่วยอนุรักษ์พัฒนา
และถ่ายทอดความรู้ ให้แก่คนรุ่นใหม่ เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ในวัฒนธรรมของคนที่อยู่ต่างสังคมได้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
และมีความเข้าใจระหว่างกัน ทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
2.3 ทำให้เราเสริมสร้างความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี
เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ การพาณิชย์ และความรู้อื่นๆ ที่เป็นพื้นฐานจำเป็นต่อการพัฒนาสังคม
สังคมสารสนเทศ
เกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ของจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ จนมีการเรียกว่า การทะลักของสารสนเทศ ( Information
explosion ) สารสนเทศมีปริมาณมากขึ้น เกิดปัญหาในการคัดเลือก จัดเก็บ
และค้นคืน เกิดมลภาวะของสารสนเทศ ( Information pollution
) โดยสารสนเทศจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น พร้อม ๆกับพัฒนาการของความรู้และศาสตร์ใหม่ ๆ
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา
(Content)
• ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)
• ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
• ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)
• ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
• ชัดเจน (clarity)
• ระดับรายละเอียด (level of detail)
• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
• สื่อการนำเสนอ (media)
• ความยืดหยุ่น (flexibility)
• ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
• การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
• มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
• การมีส่วนร่วม (participation)
• การเชื่อมโยง (connectivity)
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ
6 ส่วนคือ
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People)เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ประโยชน์ของสารสนเทศ
|
|
|||||
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง
ๆ มากมาย อาทิเช่น
|
|
|||||
|
|
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง
ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท
ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
2. สื่อขนาดเล็ก สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดีทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว
ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก
ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ
สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
4. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดีทัศน์
(Video Teleconference)
5. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ
กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน
โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่ไม่หยุดยั้ง ทำให้วงการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ดังนั้นจึงทำให้วงการศึกษาเปลี่ยนไปในหลายๆด้าน เช่น
- การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
- การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
- การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
- การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
- การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย
5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5. ช่วยลดเวลาในการสอน
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม
เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ
ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ
ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว
ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน
มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน
อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว
แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม
เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ
ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
1·
E-learning
ความหมาย
e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เหลาจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic
Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ
คุณธิดาทิตย์ จันคะนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้
ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World
Wide Web หรือเว็บไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1)
แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2)
แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ
อิเล็คทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ความหมายของ
e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question
: FAQ) ในเว็บ www.elearningshowcase.com
ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based
Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่
สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม
และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้
้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง
และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ระบบดิจิตอล
ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ์ อิเลคทรอนิค
ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning
จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long
distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง
ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน
การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ
Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร
บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น
e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ
Online Learning
หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของ Technology-based Learning n มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
อินทราเน็ต และ เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ
การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ
ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ
คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks)
แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง
โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง
ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์
ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่
ในบริการของเว็บ และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ
e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน
โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง
วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ
โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา
และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
สื่อประสม (Multi
Media)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ
ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์
และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์
และเสียง
สื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
• สื่อประสม (Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน
เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน
การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
• สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง
ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ
โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้ ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา คือ
การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์
ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์ การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ
ฯลฯ เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่
เกม ชื่อ Where in the World is Carmen Sandiago เป็นต้น
2. การสอนและการทบทวน คือ
การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ
การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา
และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว
จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
3. สารสนเทศอ้างอิง คือ สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
สื่อหลายมิติ (HyperMedia)
สื่อหลายมิติ
คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง
ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ”
(Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ”
(Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า
สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext
อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์
มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ
เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ
ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์
ภาพกราฟฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง
ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
สรุปสื่อหลายมิติ หมายถึง
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก
“ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
การผลิตสื่อหลายมิติ
การจัดทำสื่อหลายมิติ
จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ
ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์
กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น
ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการใช้สื่อหลายมิติ
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น(Browsing)สารสนเทศต่าง
ๆ
2. ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) แฟ้มข้อมูลต่าง
ๆ
3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่าง
ๆ ที่มีความ น่าสนใจเนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน
มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น
โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ
โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย
การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์
แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ
โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ
มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย
หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น